กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UNFPA) เริ่มโครงการสนับสนุนประเทศไทยในปี พ.ศ. 2514 ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา UNFPA ได้ทำงานร่วมกับรัฐบาลไทย องค์กรพัฒนาเอกชน สถาบันการศึกษา และภาคประชาสังคมเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการประชุมนานาชาติว่าด้วยเรื่องประชากรและการพัฒนา (ICPD) โดยเน้นการส่งเสริมสุขภาพทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์และสิทธิของเยาวชนโดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นเปราะบาง สนับสนุนการยุติการเสียชีวิตของมารดาที่ป้องกันได้ผ่านความร่วมมือแบบใต้-ใต้ (South-South and Triangular Cooperation) และจัดทำนโยบายเชิงประจักษ์เพื่อเตรียมประเทศไทยให้ในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรและสังคมสูงวัยอย่างมีประสิทธิภาพ

ความร่วมมือระหว่าง UNFPA และประเทศไทยฉบับปัจจุบันซึ่งเป็นฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2560-2564) สอดคล้องกับกรอบความร่วมมือของสหประชาชาติ (พ.ศ. 2560-2564) และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) ของประเทศไทยและกรอบแนวทางปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานสากล รวมทั้งอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบและการประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยเรื่องประชากรและการพัฒนา (ICPD) 

การผสานความร่วมมือกับสมาคมผู้ประเมินมูลค่าทางสังคมไทย (Social Value Thailand) จะเสริมพลังในการขับเคลื่อนงานในระดับนโยบาย ด้วยกลยุทธ์ในการส่งเสริมกรอบมาตรฐานการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางสังคม (SIA/SROI) เป็นชุดองค์ความรู้และทักษะการทำงานสำคัญของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ทาง UNFPA เชื่อว่าจะเชื่อมผสานความร่วมมือในระดับพหุภาคี ตั้งแต่ในระดับนโยบาย ภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน สถาบันการศึกษา และภาคประชาสังคม ให้เกิดการเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงและสัมฤทธิ์ที่เกิดขึ้นในมุมมองของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สะท้อนถึง Effectiveness และ Efficiency ในการขับเคลื่อนแผนงาน นโยบาย เพื่อมุ่งจัดการกับความเหลื่อมล้ำ และทำงานกับกลุ่มประชากรเปราะบาง และประชากรกลุ่มเยาวชนและวัยรุ่นผ่านกลยุทธ์ที่เน้นจัดการกับความไม่เท่าเทียมทางเพศ กรอบมาตรฐานการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางสังคม จะมาช่วยยกระดับทุกองคาพยพให้เกิดการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงนโยบายที่ตรงเป้าเพื่อผลักดันการพัฒนากลยุทธ์และระดมทรัพยากร การสนับสนุนจากภาคส่วนองค์กรและประชาชนเพื่อผลักดันเป้าหมายเหล่านี้อย่างเป็นรูปธรรม

โดยการจัดงานครั้งนี้ UNFPA ร่วมมือกับสมาคมผู้ประเมินมูลค่าทางสังคมไทย (Social Value Thailand) เพื่อสร้างความตระหนักให้แก่หน่วยงานภาคีพันธมิตรของ UNFPA ในการนำเครื่องมือและกรอบมาตรฐานสากลนี้มาประยุกต์ในการวางแผน ติดตาม บริหาร นโยบาย กิจกรรม และการดำเนินงานขององค์กรร่วมกันเพื่อผลักดันนโยบายและงบประมาณไปถึงผลสัมฤทธิ์ร่วมกัน ด้วยการเชิญชวนผู้บริหารและผู้พัฒนานโยบายในองค์กรทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรพัฒนาชุมชน และภาคประชาสังคมให้นำมาตรฐานดังกล่าวไปสู่การบูรณาการได้จริง โดยเชิญกรณีศึกษาจาก

·      คุณอธิภัทร วรางคนันท์ เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการ UNFPA Thailand

คุณค่าทางสังคมและเศรษฐกิจจากการลงทุนในโครงการความร่วมมือใต้-ใต้และไตรภาคี (SSTC) กับภูฏาน และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว)

·      คุณนำพล โพธิวงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธิ์ความยั่งยืน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)

ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนของ โครงการด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)

·      ดร.ทัศนีย์ นาคเสนีย์ อาจารย์สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการบริการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง

ผลตอบแทนทางสังคมจากการดําเนินธุรกิจวิสาหกิจชุมชนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงกีฬาในการจัดงานวิ่งจอมบึงมาราธอนกรณีศึกษา ศูนย์การเรียนรู้อยู่เย็นเป็นสุข วิถีไทยรามัญ

·      คุณปิยะวัลย์ สร้อยน้อย ผู้อำนวยการ สามย่าน โค-ออ

เปิดเผยความสำเร็จของสามย่าน โค-ออป พื้นที่แห่งการแบ่งปันเพื่อการเรียนรู้ของทุกคน พร้อมยืนหยัดให้บริการพื้นที่ส่งเสริมการเรียนรู้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายอย่างต่อเนื่อง สนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน

ที่ได้นำมาตรฐาน SIA/SROI ไปสู่การใช้จริงมาแบ่งปันประสบการณ์ ข้อท้าทายในช่วงการริเริ่มตลอดจน Impact ที่่เกิดขึ้น ในวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 นอกจากนั้น ยังส่งเสริมการนำไปสู่ระดับปฏิบัติในการจัด SROI Practitioner Workshop 3 วัน อย่างต่อเนื่องในระหว่างวันที่ 23 -25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565  เพื่อส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจเชิงลึกและเครื่องมือช่วยในการนำไปสู่การประเมิน และกระตุ้นให้เกิดการนำกรณีของหน่วยงานมาทดลองกระบวนการให้สามารถนำไปประยุกต์ได้จริงต่อไป

นับเป็นก้าวแรกและก้าวสำคัญที่หน่วยงานระดับนโยบาย ปูพรมสร้างความเข้าใจและเตรียมความพร้อมบุคคลากรทั้งภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการบริหารจัดการ ติดตามและรายงาน IMPACT ร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม UNFPA เชื่อว่าความร่วมมือระหว่าง SVThailand จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อนำไปสู่การนำกรณีศึกษาในประเทศไทยมาสร้างความเข้าใจ และเป็นตัวอย่างเชิงประจักษ์เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงกรอบการประเมินติดตามผลสู่ IMPACT เพื่อเร่งสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ภายในปี 2030

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 

โทร. 089-680-1233, 090-669-3961 I E-mail : socialvaluethailand@gmail.com

Website : https://socialvaluethailand.org/

Categories: NEWS

0 Comments

ใส่ความเห็น

Avatar placeholder

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *