Date/Time:
- การลงทะเบียนเข้าร่วม : 1 – 22 เมษายน พ.ศ. 2567
- เวทีเสวนา Impact Partnership : วันที่ 1 วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน 2567 เวลา 09.00 – 16.30 น.
- ประชุมเชิงปฏิบัติการ High Impact Initiative Workshop : วันที่ 2 วันศุกร์ที่ 26 เมษายน 2567 เวลา 09.00 – 16.30 น.
Venue: –
Course Fee: 1,799.00 บาท (ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT 7%)
สมัครและชำระเงินภายใน 22 เมษายน 2567 ได้รับสิทธิพิเศษเป็นสมาชิกสมาคมผู้ประเมินมูลค่าทางสังคมไทย ระยะเวลา 1 ปี มูลค่า 2,900.00 บาท ฟรี !!
** ดูสิทธิสมาชิกได้ที่ https://socialvaluethailand.org/membership/ **
EVENT PROFILE (เกี่ยวกับงาน)
ที่มา/หลักการเหตุผล
จากสถานการณ์โลกในการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมที่มุ่งสู่ทิศทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) ความเร่งด่วนของการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ในปี ค.ศ. 2030 จะเป็นปัจจัยขับเคลื่อนให้เกิดความร่วมมือของทุกภาคส่วนในการปรับกระบวนทัศน์ ทิศทางการดำเนินงานขององค์กรที่สนอง สอดคล้องและสนับสนุนต่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในปี ค.ศ. 2030 กับการประเมินสถานการณ์การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั่วโลก พบความเสี่ยงในการไม่สามารถบรรลุเป้าหมาย ตลอดจนผลการประชุมเศรษฐกิจโลก World Economic Forum 2021 ได้สะท้อนความสำคัญที่ทั่วโลกจะประสบวิกฤติทางสิ่งแวดล้อมและสังคมรุนแรงขึ้นเป็น 3 ลำดับแรก อันจะส่งผลกระทบกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจผ่านรายงานความเสี่ยงโลก (Global Risks Report) ดังนั้น กระแสในการเชื่อมโยง เป้าหมาย ผลสัมฤทธิ์ทางสังคม และตัวชี้วัดทางสังคม สู่การกำหนดวิสัยทัศน์ ทิศทางการดำเนินงานขององค์กร ความจำเป็นและความต้องการในการประเมินติดตามผลในระดับผลสัมฤทธิ์ทางสังคม เพื่อส่งเสริมประสิทธิผลในการดำเนินงาน การจัดสรรงบประมาณ และการจัดทำนโยบายที่เกิดประโยชน์ต่อสังคม ในทุกภาคส่วน
อย่างไรก็ตาม ยังมีช่องว่างของการดำเนินงานในปัจจุบัน และความต้องการแนวทาง มาตรฐาน กลไก และเครื่องมือที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ น่าเชื่อถือ ในการวางแผน บริหารจัดการ ระเบียบวิธีการศึกษาประเมิน งานวิจัยและข้อมูลทางวิชาการที่ช่วยเสริมในกระบวนการตัดสินใจ ที่จะช่วยลดความเสี่ยงจากการดำเนินงานที่ส่งผลกระทบเชิงลบทางสังคม และส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางสังคม ตลอดจนความพร้อมของนโยบาย บุคลากร กลไกการขับเคลื่อน แรงจูงใจ ปัญหาอุปสรรค ข้อจำกัดและข้อท้าทาย ที่ฉุดรั้งการประยุกต์การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางสังคมอย่างมีประสิทธิผล
นอกจากนั้น จากรายงาน Sustainable Development Report 2022, SDSN, Cambridge University พบว่า ภายหลังวิกฤติการณ์โควิด-19 จะมีความจำเป็นอย่างยิ่งยวดไม่เพียงการยกระดับนโยบาย ระเบียบ ข้อบังคับ แต่จะในการขับเคลื่อนทรัพยากร การเงิน และแหล่งทุนที่จะนำไปสู่การผลักดันผลสัมฤทธิ์สู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน นอกจากนั้น ในรายงานได้ระบุชัดเจน ถึงความสำคัญของการลงทุนระยะยาวและการส่งเสริมความร่วมมือในการผลักดันนวัตกรรม การพัฒนาทักษะ การศึกษา เพื่อเป็นกลไกในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาสังคมด้วยวิถีทาง กระบวนการ และนวัตกรรมใหม่
ในการนี้ สมาคมผู้ประเมินมูลค่าทางสังคมไทย (Social Value Thailand) ในฐานะเครือข่ายผู้พัฒนากรอบมาตรฐานและวิชาชีพผู้ประเมินทางสังคมในระดับสากล ได้ร่วมกับ ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.), ที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ (ทปอ.มรภ.), ที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (ทปอ.มทร.), สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.), สมาคมพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคม (Engagement Thailand) และเครือข่ายมหาวิทยาลัยยั่งยืนแห่งประเทศไทย (SUN Thailand) และสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย (UN Global Compact Network Thailand) ในการริเริ่มโครงการสัมมนา“เปลี่ยนผ่านประเทศสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้วยฐานความรู้ นวัตกรรม และความร่วมมือรัฐ เอกชน สังคม Accelerating Education and Partnership for the SDGs (Social Value Thailand Forum 1/2567) โดยมุ่งให้เกิดการเตรียมความพร้อมของภาคการศึกษาไทย ตลอดจน เปิดพื้นที่ในการส่งเสริมความตระหนักและแลกเปลี่ยนแนวทางกรณีศึกษาระหว่างหน่วยงานภาคการศึกษา ในการผลักดันการสร้าง Impact สู่สังคม ทั้งในระดับกลยุทธ์ บูรณาการในการบริหารจัดการขององค์กร (Impact Management Framework) พร้อมทั้งเตรียมความพร้อมระดับการนำองค์กรทั้งในระดับบริหาร สู่ระดับการส่งเสริมศักยภาพ บุคคลากรในภาคการศึกษา (Impact Professional) สู่การปรับเปลี่ยนแนวทางในการปฏิบัติเพื่อสอดคล้องส่งเสริมยุทธศาสตร์องค์กรในการพัฒนาชุมชนสังคมร่วมกันอย่างยั่งยืน นำไปสู่การผลักดันความร่วมมือระหว่างภาคการศึกษาและภาคีเครือข่ายภาครัฐ เอกชน สังคม (Impact Partnership) ให้เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อเชื่อมโยงศักยภาพของภาคการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุดสู่ประโยชน์สังคม
วัตถุประสงค์
1. เพื่อส่งเสริมความตระหนัก ความรู้และทักษะกรอบมาตรฐาน แนวปฏิบัติในการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางสังคม (Impact Measurement & Management Framework)
2. เพื่อส่งเสริมการเชื่อมโยงฐานข้อมูลด้านผลสัมฤทธิ์สังคม แนวปฏิบัติที่ดี และกรณีศึกษาให้เกิดการต่อยอดและนำไปสู่การบริหารจัดการงานวิจัย งานวิชาการ และการบริหารองค์กรสู่การสร้างผลสัมฤทธิ์สังคม
3. เพื่อสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาคการศึกษาและภาคีทังภาครัฐ ภาคแอกชน และภาคสังคมในการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน
กิจกรรมสำคัญ
- ปาฐกถาพิเศษ
- Game-changers and Transformative Social Innovation: How Organizations Can Sustainable Thrive in a Changing World
- Higher-Education Impact Partnership สานพลังขับเคลื่อนนโยบายความมีส่วนร่วมสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน
- แถลงทิศทางการผลักดัน Impact University Consortium & Public Private Partnership และแสดงเจตนารมณ์การขับเคลื่อนเครือข่ายความร่วมมือ
- เวทีเสวนา
- เปลี่ยนผ่านประเทศสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้วยฐานความรู้ วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม
- กลยุทธ์การบริหารแผนงานภาคการศึกษาสู่การบูรณาการสะท้อน High Impact University
- การนำนโยบายสู่การปฏิบัติ ขับเคลื่อน Impact สะท้อนบทบาทภาคการศึกษาและความร่วมมือรัฐ เอกชนสู่ท้องถิ่น
- Workshop Impact Analyst & Assessor Program
- Introduction to Social Impact Assessment & SROI: Social Return on Investment
- Introduction to SDG Impact Standard Program
- Introduction to ESG & Impact Reporting
- Workshop Impact Materiality Matrix & NetZero Initiative
- Impact Showcase
- Impact Case#1 “Carbon neutral & Climate justice”
- Impact Case#2 “Well being & Inequallity”
- Impact Case#3 “New Economy & Sustainable S-Curve”
- Impact World Cafe
- หัวข้อที่ 1 การประเมิน Social Impact สำหรับงานวิจัยและโครงการ/กิจกรรมอื่น ๆ
- หัวข้อที่ 2 การวิเคราะห์ IMPACT PATHWAY
- หัวข้อที่ 3 การประเมินมูลค่าและการกำหนดตัวชี้วัด
- หัวข้อที่ 4 การรับรองรายงานผลการประเมิน (Report Assurance) และ การเตรียมสอบเป็นผู้ประเมินผล (Certified Impact Assessor)
กลุ่มเป้าหมาย
มหาวิทยาลัย/สถาบันการศึกษา
- ผู้บริหาร คณาจารย์ นักวิจัย และบุคลากรในภาคการศึกษา ด้านกลยุทธ์และแผนงาน ด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้านงานวิจัยนวัตกรรม
ผู้บริหารและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์กร ในภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคสังคม
- กองแผนงาน กลยุทธ์ ติดตามประเมินผล งบประมาณ
- ฝ่ายวิจัย นวัตกรรม
- ฝ่ายบริการวิชาการ งานกิจกรรมเพื่อสังคม
- ฝ่ายการพัฒนางานเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน และประเด็นขับเคลื่อน ที่เกี่ยวข้อง
- ฝ่ายวิจัย กลยุทธ์
- กองทุน แหล่งทุน
5 ประโยชน์สำคัญที่จะได้รับ
- Lead Sustainability Transformation
- เรียนรู้และพัฒนาทักษะในการกำหนดกลยุทธ์ทิศทางการนำองค์กรตามสถานการณ์โลก และกรอบมาตรฐานการพัฒนาอย่างยั่งยืนในระดับสากล ได้แก่ SDG Impact Standards, SDG Action Managers, Impact Management Framework, ESG Reporting, SIA/SROI, Adaptive GameChanger and Sustainability Transformation
- Consensus Localization
- ยกระดับแนวร่วมในการกำหนดทิศทางการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม ข้อตกลงและมาตรฐานในประเทศไทย ให้เกิดความโปร่งใส น่าเชื่อถือ และเข้าถึง เหมาะสมสำหรับทั้งในภาคการศึกษา ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคสังคม
- Knowhow Sharing
- เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ นโยบาย ทิศทาง กรณีศึกษาแนวปฏิบัติที่ส่งเสริมการเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งในภาคการศึกษา ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคสังคม
- Impact Consortium & Partnership
- โอกาสในการต่อยอดนวัตกรรมงานวิจัยสู่ผลลัพธ์ทางสังคม การผลักดัน Research Utilization, Impact/Business Venture, CSV Model (Creating Shared Value), Impact Investing ระหว่างภาคการศึกษา เชื่อมโยงการทำงานร่วมกับภาคเอกชน ภาครัฐและภาคสังคม
- Collective Collaboration
- ส่งเสริมและสนับสนุนพลังภาคีเครือข่ายฐานราก ทั้งในภาคการศึกษา ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคสังคม เพื่อกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงและพลังเครือข่ายในระดับท้องถิ่น ชุมชน และสังคมวงกว้างในการสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน
5 Hilights สำคัญในงาน
- Impact Thought Leaders: การพบปะผู้บริหารระดับสูงและผู้นำการเปลี่ยนแปลง ทั้งในภาคการศึกษา ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคสังคม ในการขับเคลื่อนนโยบายในภาคการศึกษาสู่การพัฒนาระบบเศรษฐกิจ สังคมเข้มแข็ง และสมดุลสิ่งแวดล้อม สู่การเพิ่มอัตรราเร่งในการบรรลุ SDGs ด้วยฐานความรู้ วิจัย นวัตกรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- Impact Showcase & Scalability: การนำกรณีศึกษาจริงที่สะท้อนแนวทางในการบริหารจัดการ ผลลัพธ์ทางสังคม และส่งเสริมการทำงานร่วมภาคีพันธมิตร สู่การขยายผล
- Impact International Standard & Localization Practice: เวทีนำเสนอกรอบมาตรฐานการพัฒนาอย่างยั่งยืน เรียนรู้กรอบมาตรฐานสากล และแนวทางการปฏิบัติที่เหมาะสม โครงการนำร่อง ริเริ่ม การบูรณาการสู่การ ประยุกต์ใช้ได้จริงในองค์กร
- Impact Workshop & Clinic: กิจกรรมเสริมการพัฒนาทักษะและแนวทางการบริหารจัดการด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่เหมาะสมกับแต่ละภาคส่วน ทดลองใช้เครื่องมือและแนวปฏิบัติในประเทศไทย แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ปัญหา โอกาส สู่การขยายผลลัพธ์ทางสังคมจากผู้มีประสบการณ์จริง
- Impact Exhibition: เปิดเวทีพบปะ แลกเปลี่ยนบทบาทการขับเคลื่อนงานด้านการพัฒนาผลลัพธ์ทางสังคม และเข้าถึงภาคีเครือข่าย ทั้งในภาคการศึกษา ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคสังคม
5 กลุ่มภาคีที่ได้จะเชื่อมต่อ
- ระดับนโยบายภาคการศึกษาและแหล่งทุน ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.), หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.), สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA)
, สมาคมหน่วยบ่มเพาะธุรกิจและอุทยานวิทยาศาสตร์ไทย (Thai-Bispa) - เครือข่ายภาคการศึกษา ได้แก่ ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.), ที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ (ทปอ.มรภ.), ที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (ทปอ.มทร.), เครือข่ายมหาวิทยาลัยยั่งยืนแห่งประเทศไทย (SUN Thailand) และสมาคมพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคม (Engagement Thailand)
- เครือข่ายภาคเอกชน เช่น สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย (UN Global Compact Network Thailand), สภาหอการค้าไทย, เครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย และธุรกิจยั่งยืน
- เครือข่ายผู้ประเมินผลลัพธ์ทางสังคม ได้แก่ สมาคมผู้ประเมินมูลค่าทางสังคมไทย และเครือข่าย Social Value Accelerator (SVA) – มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
- เครือข่ายภาคสังคม ได้แก่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), มูลนิธิเพื่อคนไทย เป็นต้น