ศ.ดร.นพ.พงษ์รักษ์
ศรีบัณฑิตมงคล
อธิการบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำ ที่รับผิดชอบต่อสังคม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้วยนวัตกรรม
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เดินหน้าสู่มหาวิทยาลัยชั้นนำ ด้วยเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals หรือ SDGs) ที่มุ่งสร้างสังคมที่ยั่งยืนและเป็นสุข
ปัจจุบันการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นประเด็นที่ทั่วโลกต่างให้ความสำคัญโดยองค์กรสหประชาชาติได้มีการตั้ง “เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน”(Sustainable Development Goals หรือ SDGs) ให้เป็นแนวทางการพัฒนาของโลก เพื่อให้ประเทศต่างๆ นำไปปฏิบัติให้บรรลุผลสำเร็จ เกิดการพัฒนาในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ในช่วงระยะเวลา 15 ปี ซึ่งมีผลตั้งแต่ปี 2558 ไปจนถึงปี 2573 ประกอบด้วย 17 เป้าหมายหลัก ได้แก่
- ขจัดความยากจน
- ขจัดความหิวโหย
- การส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
- การศึกษาที่เท่าเทียม
- ความเท่าเทียมทางเพศ
- การจัดการน้ำและสุขาภิบาล
- พลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้
- การจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ
- อุตสาหกรรม นวัตกรรม โครงสร้างพื้นฐาน
- ลดความเหลื่อมล้ำ
- เมืองและถิ่นฐานมนุษย์อย่างยั่งยืน
- แผนการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน
- การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
- การใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล
- การใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบก
- สังคมสงบสุข ยุติธรรม ไม่แบ่งแยก
- ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
โดยกำหนดวิสัยทัศน์เป็น “มหาวิทยาลัยชั้นนำที่รับผิดชอบต่อสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้วยนวัตกรรม” มีการนำ “เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน” (SDGs) มาเป็นส่วนสำคัญในการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย โดยพันธกิจของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ทั้ง 4 ด้าน ซึ่งได้แก่ การศึกษา (Education) การวิจัย (Research) การบริการวิชาการ (outreach) และ การบริหารจัดการเชิงบูรณาการ (Stewardship) มีความสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาทั้ง 4 ด้านของ SDGs และยังคงมุ่งมั่นพัฒนามหาวิทยาลัยภายใต้ยุทธศาสตร์เชิงรุกเดิมทั้ง 8 ด้าน ประกอบด้วย
- นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงาน
- นวัตกรรมด้านอาหารและสุขภาพและการดูแลผู้สูงอายุ
- ล้านนาสร้างสรรค์
- ผลิตบัณฑิตที่มีคุณธรรม คุณภาพ และมีทักษะการเป็นพลเมืองโลก
- วิจัยเพื่อความเป็นเลิศและนวัตกรรม
- บริการวิชาการที่เกิดประโยชน์แก่สังคม
- แสวงหารายได้เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
- บริหารจัดการเชิงบูรณาการ
แผนพัฒนาการศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่ได้ทบทวนและปรับปรุงนี้จะใช้เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนการพัฒนามหาวิทยาลัย การพัฒนาส่วนงาน และเป็นกลไกสร้างความเข้มแข็งให้กับประเทศชาติไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนโดยรวม ด้วยการผนึกกำลังและองค์ความรู้จากทั้งมหาวิทยาลัยดำเนินงานตามยุทธศาสตร์เชิงรุกอย่างต่อเนื่อง ให้มหาวิทยาลัย สังคม และชุมชนรอบข้างเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนในทุกๆ ด้านต่อไป.
ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล อธิการบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
“กล่าวเปิดและแถลงทิศทางการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยสู่ Social Impact Education”
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้กำหนดทิศทางการดำเนินงานหลักในการมุ่งสู่เป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ด้วยวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ขององค์กร (Strategic Objectives) ที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำ ด้วยการส่งมอบคุณค่าสู่สังคมภายนอกมหาวิทยาลัยทั้งในระดับประเทศและระดับโลก ตลอดจนนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนในอนาคต
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จึงผนึกกำลังกับสมาคมผู้ประเมินมูลค่าทางสังคมไทย เร่งพัฒนามาตรฐานการศึกษาอย่างยั่งยืน ตั้งแต่การพัฒนามาตรฐาน ผู้เชี่ยวชาญ ระบบการดำเนินงานและแนวทางการประเมินและบริหารจัดการผลสัมฤทธิ์ทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ควบคู่กับการส่งเสริมความร่วมมือของภาคีเครือข่ายและหน่วยงานในสังคมเพื่อร่วมพัฒนาประเด็นที่เกี่ยวข้องในด้านต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาและประเมินคุณค่าทางสังคม (Social Value Accelerator หรือ SVA) โดยสมาคมผู้ประเมินมูลค่าทางสังคมไทย (Social Value Thailand) ซึ่งเป็นเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญการประเมินผลตอบแทนทางสังคม (SROI) ระดับสากลของ Social Value International ที่มีสมาชิกกว่า 700 องค์กร 60 ประเทศ โดยมีหลักการและมาตรฐานในการประเมินสะท้อนคุณค่าทางสังคมเพื่อบูรณการให้เกิดการนำข้อมูลคุณค่าทางสังคมไปสู่การตัดสินใจและการวางแผน ดำเนินงาน จัดสรรงบประมาณสู่การสร้างคุณค่าทางสังคมให้แก่หน่วยงานทุกประเภท ทุกภาคส่วน นอกจากนี้ยังตอบโจทย์ความคุ้มค่า ลดต้นทุนและทรัพยากร พร้อมทั้งสะท้อนอิมแพคทางสังคมอย่างยั่งยืนในทุกแง่มุมด้วย SROI หรือการวิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคม
คณะกรรมการสมาคมผู้ประเมินมูลค่าทางสังคมไทย (Social Value Thailand)
SVA คือแผนการดำเนินความร่วมมือระหว่างสมาคมผู้ประเมินมูลค่าทางสังคมไทย และเครือข่ายภาคีที่มีความมุ่งมั่นและเจตนารมณ์ร่วมกันเพื่อร่วมผลักดันแผนการดำเนินงาน SVA ใน 3 มิติ ได้แก่
- เพื่อยกระดับพัฒนามาตรฐาน ผู้เชี่ยวชาญ ระบบการดำเนินงานและแนวทางการประเมินและบริหารจัดการผลสัมฤทธิ์ทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม โดยส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อบูรณาการ “คุณค่าทางสังคม” (Social Value Driven)
- เพื่อผลักดันตั้งแต่ระดับนโยบาย ระดับปฏิบัติ ในกระบวนการดำเนินงานของหน่วยงานและภาคีที่เกี่ยวข้อง เพื่อสะท้อนความคุ้มค่าและผลตอบแทนทางสังคม อันนำไปสู่การวางแผนบริหารและพัฒนาปรับปรุงทิศทางและแผนการดำเนินงานของหน่วยงาน (Impact Measurement, Management & Maximization)
- เพื่อมุ่งสร้างสมดุลทั้งผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนเพื่อขับเคลื่อนความร่วมมือของภาคีเครือข่ายและหน่วยงานในสังคมเพื่อร่วมพัฒนาประเด็นเกี่ยวข้องในด้านต่าง ๆ อันนำไปสู่ความร่วมมือการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs Partnership for the Goals)
พิธีลงนามความร่วมมือ (MOU) ระหว่างสมาคมผู้ประเมินมูลค่าทางสังคมไทยและมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในการขับเคลื่อนแผนงานส่งเสริมและพัฒนาการประเมินคุณค่าทางสังคม (Social Value Accelerator Programme หรือ SVA)
โดยความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่กับสมาคมผู้ประเมินมูลค่าทางสังคมไทย เพื่อมุ่งส่งเสริมการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์ของแต่ละฝ่ายเพื่อก่อให้เกิดการพัฒนา ความร่วมมือในการยกระดับการขับเคลื่อนเชิงนโยบาย ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากร สนับสนุนระบบสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยีทางวิชาการ องค์ความรู้และภาคีเครือข่ายระหว่างกัน พร้อมทั้งร่วมกันสนับสนุนและอำนวยความสะดวกด้านกิจกรรมการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม การจัดสัมมนา การอภิปราย หรือการประชุม รวมทั้งร่วมกันพัฒนาหลักสูตรทางวิชาการต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนในประเด็นความร่วมมือดังกล่าวทั้งในระดับประเทศและในระดับนานาชาติ โดยมีกลยุทธ์การดำเนินงานใน 4 ประเด็นสำคัญ ได้แก่
- Social Value Professional Development ซึ่งพัฒนาวิชาชีพและองค์ความรู้ในการบริหารจัดการและติดตามประเมินผลลัพธ์สังคม การรับรองผู้ประเมินและผู้สอนการประเมินมูลค่าทางสังคมตามมาตรฐานสากล Social Value Principle, Impact Management Project และ SDGs Impact Standard
- Assurance Standard เพื่อส่งเสริมความน่าเชื่อถือและตรวจรับรองรายงานการประเมินผลตอบแทนทางสังคม (SROI Report)
- Academic Forum & Partnership เพื่อส่งเสริมงานการพัฒนาเผยแพร่ งานวิจัย งานวิชาการที่เกี่ยวข้องทั้งเครือข่ายภายในระดับประเทศและระดับสากล
- Impact Data Portal เพื่อส่งเสริมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการข้อมูลเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์สังคมระหว่างกัน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และเร่งขยายผลสู่วงกว้าง
คุณสกุลทิพย์ กีรติพันธวงศ์
เลขาธิการสมาคมผู้ประเมินมูลค่าทางสังคมไทย
“สรุปผลการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมแผนการพัฒนาการศึกษา ระยะที่ 12 ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 – 2565″
Dr. Adam Richards
Director of Impact, Social Value International
“กล่าวสถานการณ์และการขับเคลื่อน Social Value Movement”
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) มหาวิทยาลัยชั้นนำแห่งแรก ร่วมผลักดันบูรณาการ SVA ทั่วทั้งองค์กรเพื่อสะท้อน Impact สู่สังคม สอดรับกับแผนนโยบายและยุทธศาสตร์แผนพัฒนาการศึกษาฯ ระยะที่ 13 มุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนด้วย SDGs (Sustainable Development Goals) สนับสนุนการศึกษารูปแบบใหม่ ผลักดันการนำเทคโนโลยี มาพัฒนาการดำเนินงานต่างๆ เพื่อเป็นมหาวิทยาลัยแห่งนวัตกรรมต้นแบบเพื่อชุมชน และร่วมพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน ผู้จัดจึงเชิญชวนทุกท่านมาร่วมผลักดัน Social Value Accelerator และนำ SROI สู่การปฏิบัติ โดยการจัดงานในระหว่างวันที่ 1 – 2 กรกฎาคมนี้ ผู้จัดได้ระดมผู้บริหารทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา นักพัฒนานโยบาย นักวิชาการ และภาคประชาสังคม เปิดเวทีเพื่อแลกเปลี่ยน “แนวทางการประยุกต์ปฏิบัติจริง” ในระดับท้องถิ่น ภาควิชาการ และภาคอุตสาหกรรม ที่มีความหลากหลาย โดยมีเวทีเสวนาทั้งในระดับต่างประเทศ ระดับท้องถิ่น และระดับผู้ปฏิบัติการ ตลอดจนการแถลงความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และสมาคมผู้ประเมินมูลค่าทางสังคมไทย (MOU) ทั้งนี้ยังมีการมอบรางวัล CMU Social Value Recognition Awards 2023 กับโครงการตามแผนพัฒนาการศึกษาฯ ระยะที่ 12 ที่ผ่านมา ซึ่งสร้าง Impact ต่อสังคม ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยดังนี้
- ยุทธศาสตร์ที่ 1 เชิงรุก : นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงาน (EE) ได้แก่ โครงการการเฝ้าระวังและเตือนภัยปัญหาหมอกควันโดยเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศระบบเซ็นเซอร์ DustBoy ในประเทศไทย, โครงการประเมินประสิทธิภาพการใช้พลังงานและศักยภาพการจัดการพลังงานด้วย smart energy และโครงการ CMU Smart Suveillance (Gate and CCTV)
- ยุทธศาสตร์ที่ 2 เชิงรุก : นวัตกรรมด้านอาหารและสุขภาพ และการดูแลผู้สูงอายุ (FHA) ได้แก่ โครงการ Strengthening Hypertension Management Programme in Primary Care, Thailand, โครงการยกระดับเทคโนโลยี เพิ่มมูลค่า และต่อยอดงานวิจัยด้านอาหารและสุขภาพด้วยโรงงานต้นแบบนวัตกรรมอาหารครบวงจร สู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ และโครงการ สนับสนุนและพัฒนาเพื่อการขับเคลื่อนระบบเกษตรและพืชอาหารทางเลือกโดยชุมชนท้องถิ่น
- ยุทธศาสตร์ที่ 3 เชิงรุก : ล้านนาสร้างสรรค์ (CL) ได้แก่ โครงการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรมล้านนาสร้างสรรค์ “Creative Lanna League”, โครงการพิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนามีชีวิตแหล่งเรียนรู้และวิถีชีวิตล้านนาอย่างสร้างสรรค์ และโครงการพัฒนานวัตกรรมดนตรีล้านนาสร้างสรรค์
- บริการวิชาการเพื่อสังคม ได้แก่ โครงการกระบวนการเรียนการสอนภาษาอังกฤษอย่างมีส่วนร่วมโดยการบูรณาการภูมิปัญญาชาวบ้าน กรณีศึกษาครูและผู้นำชุมชนตำบลแม่ตื่น อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่, โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของผู้นำชุมชนในตำบลนาเกียน อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ และโครงการการวิเคราะห์ผลกระทบของกฎหมายกับการลดอุปสรรคในการประกอบธุรกิจ
ผู้ได้รับรางวัล CMU Social Value Recognition Awards 2023
นอกจากนี้ยังมีกิจกรรม CMU Social Value Hackathon เพื่อปั้นผู้ผลักดันโครงการ High Impact สู่สังคมอย่างต่อเนื่องในปี 2567 ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย https://shorturl.asia/co6Lf
ติดตามความเคลื่อนไหว และ Subscribe เพื่อรับข้อมูลข่าวสารได้ที่
สมาคมผู้ประเมินมูลค่าทางสังคมไทย (Social Value Thailand)
☎️ 089-680-1233, 090-669-3961
✅️ https://line.me/ti/p/zTstB6ePOV
0 Comments