ในปี 2565 กนอ.ได้ริเริ่มโครงการพัฒนาเกณฑ์ผลสัมฤทธิ์ทางสังคมสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนของ กนอ. (I-EA-T Sustainable Business : ISB) ที่นำเอามาตรฐานสากลในการวัดผลสัมฤทธิ์ทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล มาพัฒนาให้เหมาะสมแก่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมไทย เพื่อยกระดับขีดความสามารถและภูมิคุ้มกันที่ดี มุ่งเตรียมความพร้อมในการพัฒนาธุรกิจสร้างคุณค่าร่วมต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ใน 2 มิติสำคัญ ได้แก่ มิติแรก การพัฒนากระบวนการดำเนินธุรกิจ CSR In Process โดยการนำเครื่องมือเกณฑ์การประเมินการดำเนินธุรกิจ BIA Business Impact Assessment ร่วมกับมาตรฐาน BCORP ใน 5 ด้าน ได้แก่ 1) ธรรมาภิบาล 2) พนักงาน 3) ชุมชน 4) สิ่งแวดล้อม และ 5) ลูกค้าและผู้บริโภค
และมิติที่สอง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางสังคมในกระบวนการ CSR After process โดยการนำเครื่องมือ การบริหารจัดการการลงทุนและดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคม SIA Social Impact Assessment และ Social Return on Investment : SROI ร่วมกับกลุ่มมาตรฐาน Social Value International ที่มุ่งสะท้อนผลสัมฤทธิ์จากมุมมองของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียใน 3 ด้าน ได้แก่ 1) เศรษฐกิจ 2) สังคม และ 3) สิ่งแวดล้อม ที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก
ด้วย 3 กลยุทธ์หลักในการดำเนินโครงการ ได้แก่ 1. พัฒนาแนวทางและเกณฑ์การประเมิน IMPACT Performance ที่เหมาะสมกับอุตสาหกรรมและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล (ISB GUIDELINE) 2. เพิ่มขีดความสามารถในการประเมินและพัฒนา IMPACT ให้แก่บุคคลากรในภาคอุตสาหกรรม (ISB TEAM LEADER) 3. เปิดเผยข้อมูล IMPACT REPORT และส่งเสริมการรับรองเครือข่ายธุรกิจยั่งยืนในภาคอุตสาหกรรมไทย เพื่อสร้างความร่วมมือและเรียนรู้กรณีศึกษาธุรกิจยั่งยืน (ISB LIST)
โครงการ ISB จึงนับเป็นโครงการริเริ่มที่ กนอ.ส่งสัญญาณให้ภาคอุตสาหกรรมไทยสะท้อนผลสัมฤทธิ์ที่สอดคล้องสู่ 17 SDGs เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งนับวันจะยิ่งทวีความสำคัญที่ต้องการพลังจากทุกภาคส่วนทั่วโลก มีความต้องการทั้งทางทรัพยากร การพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีที่ยั่งยืน ตลอดจนการยกระดับระบบเศรษฐกิจสู่ทิศทางเกื้อกูลสังคมและสิ่งแวดล้อม หรือ BCG Economy ที่ตอบโจทย์การเติบโตของเศรษฐกิจควบคู่กับการสร้างความเข้มแข็งสังคมและระบบนิเวศอย่างสมดุล
นับเป็นโครงการที่ต่อยอดการส่งเสริมมาตรฐานโรงงานอุตสาหกรรมให้มีความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชนอย่างยั่งยืน (หรือ CSR-DIW) ตลอดจนมาตรฐานโรงงานอุตสาหกรรมเชิงวิเวศ ด้วยการยกระดับเกณฑ์ปฏิบัติที่ดีตามกรอบความรับผิดชอบต่อสังคมของโรงงาน สู่การสะท้อน “ผลสัมฤทธิ์” IMPACT ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ที่สามารถเทียบเคียงกับผลสัมฤทธิ์ที่ดีในระดับสากลได้ สร้างฐานข้อมูล Impact benchmark ของภาคอุตสาหกรรมไทยในกลุ่ม ISB LIST ตอบโจทย์การสื่อสารสร้างการรับรู้ สร้างความแข็งแกร่งตลอดห่วงโซ่คุณค่าใน Global Supply Chain และดึงดูดนักลงทุน SDGs Impact Investing สู่ภาคอุตสาหกรรมที่สามารถสะท้อนตัวชี้วัดผลสัมฤทธิ์ที่ส่งเสริมเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน
สรุปโครงการ ISB ประจำปี 2565
จากกระบวนการสร้างความรู้ความเข้าใจและเตรียมความพร้อมในวงกว้างให้แก่ผู้ประกอบการและผู้บริหารนิคมได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการที่เข้าร่วมเรียนรู้กรอบมาตรฐานการประเมิน ISB Training Program เพื่อเรียนรู้การเพิ่ม IMPACT Performance จำนวน 247 ราย และ นิคมที่เข้าร่วมเรียนรู้ จำนวน 25 ราย นอกจากนั้นยังมีการเผยแพร่เกณฑ์การประเมิน IMPACT ให้แก่ผู้ประกอบการทีสนใจ ไปศึกษาได้ที่ openimpactdata.net
มีผู้ประกอบการนำร่องจำนวน 15 ราย จาก 9 นิคม เข้าร่วมพัฒนาและประ้เมิน Impact จากทั้ง 2 มิติสำคัญ ได้แก่ มิติแรก การพัฒนากระบวนการดำเนินธุรกิจ CSR In Process โดยการนำเครื่องมือเกณฑ์การประเมินการดำเนินธุรกิจ BIA Business Impact Assessment ร่วมกับมาตรฐาน BCORP ใน 5 ด้าน ได้แก่ 1) ธรรมาภิบาล 2) พนักงาน 3) ชุมชน 4) สิ่งแวดล้อม และ 5) ลูกค้าและผู้บริโภค
และมิติที่สอง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางสังคม โดยคัดเลือกโครงการ High Impact Project โดยการนำเครื่องมือ การบริหารจัดการการลงทุนและดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคม SIA Social Impact Assessment และ Social Return on Investment : SROI ตลอดระยะเวลา 4 เดือนกว่ากับคณะ ISB Coach จำนวน 10 ราย จากผู้เชี่ยวชาญทั้งด้านการบริหารองค์กรอย่างยั่งยืน การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม การพัฒนานวัตกรรมทางธุรกิจและสังคม
หลังจากนั้น กนอ.ได้รับรองผปก.เข้าสู่ ISB LIST เป็นครั้งแรก จำนวน 10 ราย เกิดการเปิดเผยรายงาน BIA Report และ SIA/SROI Report มาจากองค์กรที่มีความแตกต่างหลากหลาย อาทิ พนักงานตั้งแต่ 70 – 5,000 คน, 6 ประเภทอุตสาหกรรม และมีระดับรายได้เฉลี่ยตั้งแต่ 107.20 – 368,888 ล้านบาทต่อปี เป็นต้น โดยคิดเป็นผลเฉลี่ย Impact Perfromance BIA 94.57 สูงกว่าระดับมาตรฐานของประเทศ/ภาคอุตสาหกรรมซึ่งมีคะแนนเฉลี่ย 86.10 และผลรวม IMPACT จากโครงการ Hihg Impact คิดเป็นมูลค่า 2,547.19 ล้านบาท (ตัวชี้วัดสำคัญ) อัตราผลตอบแทน 5.59 เท่า ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ISB IMPACT DATA << openimpactdata.net >>
และมาถึงโค้งสุดท้ายกับการพิจารณาและประกาศผลรางวัล ISB Awards โดยมีผู้ได้รับรางวัล จำนวน 8 ราย จาก 6 นิคมฯ โดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่
- รางวัล ISB EXCELLENCE
- บมจ. พีทีที โกลบอล เคมิคอล นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด
- บมจ. เอสซีจี เคมิคอลส์ นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด
- รางวัล ISB LEADER
- บจก. คาโอ อินดัสเตรียล อมตะซิตี้ นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี
- บจก. แคนนอน ไฮ-เทค (ประเทศไทย) นิคมอุตสาหกรรมไฮเทค (บ้านหว้า)
- บจก. สตาร์ส เทคโนโลยี อินดัสเตรียล นิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด ระยอง
- รางวัล ISB STRATEGY
- บจก. ครูเกอร์ เวนทิเลชั่น อินดัสทรีส์ เอเชีย นิคมอุตสาหกรรมสินสาคร
- รางวัล ISB INITIATOR
- บมจ. ที.เค.เอส เทคโนโลยี นิคมอุตสาหกรรมสินสาคร
- บจก. สยามอุตสาหกรรมยิปซัม (สงขลา) นิคมอุตสาหกรรมภาคใต้
- รางวัล ISB DNA
- บมจ. พีทีที โกลบอล เคมิคอล นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด
- บมจ. เอสซีจี เคมิคอลส์ นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด
ผศ.ชล บุนนาค ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Move) ให้เกียรติเป็นวิทยากร รายงานสถานการณ์ SDGs “โอกาสและความท้าทายในภาคอุตสาหกรรมไทย” เทรนด์โลกที่ผู้ประกอบการและภาคอุตสาหกรรมไทยที่ต้องเตรียมรับมือ
สามารถดาวน์โหลดเอกสารนำเสนอได้ที่ https://drive.google.com/file/d/14GrmBTzjiCX-EV3JdfIhYTgzeoT-_NLE/view?usp=sharing
ISB LEADERS TALK : เวทีนำเสนอ “สุดยอดผู้นำธุรกิจยั่งยืน” เพื่อสะท้อนเสียงผู้นำองค์กรให้ภาคอุตสาหกรรมปรับทิศธุรกิจสู่การสร้าง IMPACT ที่ดีต่อสังคมและร่วมสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน
o นิคมฯ อีสเทิร์นซีบอร์ด ระยอง : คุณสัมพันธ์ ปุ้ยพันธวงศ์ กรรมการและผู้จัดการโรงงาน บริษัท สตาร์ส เทคโนโลยี อินดีสเตรียล จำกัด
o นิคมฯ อมตะซิตี้ ชลบุรี : คุณสุทธิพงค์ ลิ่มศิลา ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์องค์กร บริษัท คาโอ อินดัสเตรียล (ประเทศไทย) จำกัด
o นิคมฯ สินสาคร :
– คุณจุติพันธุ์ มงคลสุธี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ที.เค.เอส. เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน)
o นิคมฯ ราชบุรี : คุณเว็นกาตารามานา เท็นทู กรรมการผู้จัดการ บริษัท ราชราตัน ไทย ไวร์ จำกัด
o นิคมฯ หนองแค : คุณปุณณรัตน์ เงาเทพพฤฒาราม General Manager บริษัท คราวน์ เบ็บแคน แอนด์ โคลสเชอร์ (ประเทศไทย) จำกัด
o นิคมฯ บ้านหว้า (ไฮเทค) : คุณเคนอิจิ โระ คุโบะ ประธาน บริษัท แคนนอน ไฮ-เทค (ประเทศไทย) จำกัด
o นิคมฯ มาบตาพุด :
– คุณกฤษดา เรืองโชติวิทย์ Head of ESG Officer บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน)
– คุณนฤมล โชคดำรงสุข ผู้จัดการฝ่ายหน่วยงาน Circular Economy บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
ร่วมแสดงความคิดเห็นเพื่อพัฒนาการดำเนินงานในปีถัดไปได้ที่ https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSf3zNdPJC8tPcSjVDqP1DCfth9cbZzpMpXc_PEAVUvcgRA-9A/viewform
สำหรับโครงการ ISB ในปีถัดไปพร้อมเดินเครื่องต่อ ติดตามรายละเอียดและไม่พลาดกิจกรรมและประโยชน์ดีดีจากกนอ.ได้ที่ Facebook Fanpage “I-EA-T Sustainable Business Award” << https://web.facebook.com/IEATSBA >> และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเครือข่าย ISB Community Group และรับคำปรึกษาในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องได้ที่ https://www.facebook.com/groups/636314153999954
0 Comments